วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อประสม คืออะไร



ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) ได้รวบรวมและกล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือ มีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง

ยุภาภรณ์    
(http://yupapornintreewon017.page.tl/%26%233626%3B%26%233639%3B%26%233656%3B%26%233629) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   สื่อประสม คือ การใช้สื่อการสอนต่าง  เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้ สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกัน หลาย  อย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” ( Multimedia ) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่าง  มาใช้ร่วมกัน โดย อาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การ ใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบาง ครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็น ชุดสื่อประสมโดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” ( Teaching Package ) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชา และเป็น “ ชุดการสอน ” ( Learing Package ) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง สื่อประสมแต่ละ ชุดจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยสื่ออะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุด มุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของการใช้ 

โอเคเนชั่น (http://www.oknation.net/blog/khetpakorn/2008/01/22/entry-15) ได้รวบรวมและกล่าวว่า สื่อผสม (Mixed media art) เป็น งานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้
     ปัจจุบันการถ่ายทอดสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศิลป์ไม่จำกัดอยู่ กับการแสดงออกในลักษณะใด ลักษณะหนึ่งอาจเป็นการผสมกันทั้งการวาดเขียน การระบายสี การพิมพ์ ประติมากรรม รวมทั้งการผสมผสาน ทางเทคโนโลยี ใหม่ ๆ เช่นวิ ดี โอ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น และวัสดุที่ ที่รองรับ ผลงานอาจไม่ใช่บนพื้นกระดาษ ผ้าใบ หรือเป็นรูปทรง 3 มิติ ธรรมดาอาจจะปรากฏอยู่บนสถาปัตยกรรม หรือภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรือบนสื่อใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา
กระบวนการถ่ายทอดทัศนศิลป์
1. การวาดเขียน (Drawing)
2. การระบายสีหรือ จิตรกรรม (Painting)
3. การพิมพ์ (Printing)
4. ประติมากรรม (Sculpture)
5. สถาปัตยกรรม (Architecture)
6. สื่อผสม (Mixed Media)

สรุป
สื่อผสม (Mixed media art) เป็น งานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้  
สื่อประสม คือ การใช้สื่อการสอนต่าง  เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้ สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกัน หลาย  อย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” ( Multimedia ) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่าง  มาใช้ร่วมกัน โดย อาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การ ใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบาง ครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็น ชุดสื่อประสม
การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือ มีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น

]อ้างอิง : ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523).แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
              สื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
              ยุภาภรณ์
       (http://yupapornintreewon017.page.tl/%26%233626%3B%26%233639%3B%26%233656%3B%26%233629).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555
โอเคเนชั่น (http://www.oknation.net/blog/khetpakorn/2008/01/22/entry-15). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น