วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอน คืออะไร



  ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523: 112) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

ซัลมา เอี่ยมฤทธิ์(http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า สื่อ การเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 สื่อเพื่อฝึกการรับรู้
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับขนาด ได้แก่ การจัดหาวัสดุสิ่งของ กล่อง บล็อก วางให้เด็กจับต้อง วางซ้อนกัน นำของสองสิ่ง สามสิ่งมาเปรียบเทียบขนาด เล็กใหญ่ เล็กที่สุด ใหญ่ที่สุด
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ครูให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ ลองวางชิ้นส่วนให้พอดีกับช่อง เช่น ช่องวงกลม เด็กต้องหยิบรูปวงกลมวางลงในช่องสี่เหลี่ยม เด็กต้องหยิบรูปสี่เหลี่ยมวางได้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้เด็กแยกรูปร่าง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี ได้
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แนะนำให้เด็กรู้จักสี เล่นสิ่งของเครื่องใช้ บล็อก แผ่นกระดาษรูปทรงเรขาคณิตที่มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กชอบสีสดใส ให้เด็กแยกสิ่งของ วัตถุ รูปภาพ ที่มีสีเหมือนกัน
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อผิวของวัตถุ ให้เด็กได้สำรวจสิ่งของใกล้ตัว ได้รับได้สัมผัสสิ่งของที่มีความอ่อน นุ่ม แข็ง หยาบ และบอกได้ว่าของแต่ละชิ้น มีลักษณะอย่างไร เช่น กระดาษทราบหยาบ สำลีนุ่ม ก้อนหินแข็ง ฯลฯ
1.2 สื่อเพื่อฝึกความคิดรวบยอด
อาจ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการจัดสิ่งแวดล้อม เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ ครูควรจัดสวนสัตว์จำลอง เล่านิทาน เชิดหุ่นเกี่ยวกับสัตว์ สนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด วาด ปั้น ฉีก แปะ รูปร่างสัตว์ การจัดกิจกรรมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอาชีพ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้และบุคคลในสังคม ครูควรใช้สื่อสถานการณจำลอง เสริมให้เด็กเข้าใจได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น
การ รู้จักตัวเลขมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ด้วยการใช้วิธีการให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง จัดวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดุมสีต่าง ๆ ฝาเบียร์ ดอกไม้ ใบไม้ ขวด บล็อก เป็นต้น

2. สื่อเพื่อพัฒนาทางด้านภาษา
การ ใช้สื่อพัฒนาการทางภาษาจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการที่สำคัญของเด็กเล็กและต้อง ศึกษาว่าการรับฟังและการเข้าใจภาษาของเด็กว่าอยู่ระดับที่สามารถฟังและแยก เสียงต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงสัตว์ เสียงดนตรีบางชนิด ฟังประโยคและข้อความสั้นและยาวพอสมควร เข้าใจคำจำกัดความ เข้าใจหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ แยกภาพตามหน้าที่ได้ เช่น สิ่งที่ใช้กินนอน หรือสิ่งที่อยู่ในบ้าน ในครัว เปรียบเทียบภาพเหมือนไม่เหมือนได้ อ่านรูปภาพ จำชื่อตัวเองและเพื่อนได้ เป็นต้น ดังนั้นครูเด็กเล็กจะต้องใช้สื่อประเภทวิธีการ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์มาจัดกิจกรรมเสริมความพร้อมทางด้านภาษาให้เด็กได้ พัฒนาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ครูควรจัดเพื่อเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ หนังสือภาพ แผ่นภาพ ภาพประกอบคำคล้องจอง หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นเชิด หุ่นถุงกระดาษ เกมเลียนเสียงสัตว์ เกมสัมพันธ์ภาพกับคำ เกมเรียนรู้ด้านการฟัง เกมทายเรื่อง เกมจับคู่ภาพเหมือนและแยกภาพต่าง ๆ
3. สื่อเพื่อพัฒนาความพร้อมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ และประสาทสัมพันธ์

วาสนา  ชาวหา (2525: 15) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เครื่องมือประเภทนี้จะเป็นพียงตัวกลาง
หรือทางผ่านของความรู้ และต้องอาศัยวัสดุ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ในรูป
แบบต่างๆ สื่อการสอนชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ และได้ยินเสียง
เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษร
ในรูปแบบต่างๆ และวัสดุการเรียนการสอนประเภทนี้จำแนกออกเป็น 2
ประเภท คือ
- วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวหรือ
ความรู้ออกมาสู่ผู้เรียน เช่น ฟิล์มต่างๆ จานเสียง เป็นต้น
- วัสดุ ที่สามารถเสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเสนอเรื่องราว เช่น หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ในการเรียนการสอนบางครั้งต้องอาศัย
เทคนิคหรือวิธีการเพื่อให้เกิดการการเรียนรู้ เช่น การสาธิต การแสดง
ละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
สรุป
        สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์
2. ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษร
ในรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท
- วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวหรือ
ความรู้ออกมาสู่ผู้เรียน เช่น ฟิล์มต่างๆ จานเสียง เป็นต้น
- วัสดุ ที่สามารถเสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเสนอเรื่องราว เช่น หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ในการเรียนการสอนบางครั้งต้องอาศัย
เทคนิคหรือวิธีการเพื่อให้เกิดการการเรียนรู้ เช่น การสาธิต การแสดง

อ้างอิง :  ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523).แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
              สื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
              ซัลมา เอี่ยมฤทธิ์(http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337).[ออนไลน์]
              เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555
              วาสนา  ชาวหา (๒๕๒๕).เทคโนโลยีทางการศึกษา.กราฟฟิคอาร์ต; กรุงเทพฯ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น