วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง



โกทูโน (http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932) ได้รวบรวมและกล่าวว่า  สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อม โยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและ เพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้ หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้ เอง จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในบท เรียนจากสื่อหลายมิติ และผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตามศักยภาพ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้น และวิชาเรียนต่างๆแล้วในปัจจุบัน

Tasana Sudjai (http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 ) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

Sirinapa (http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html )ได้รวบรวมและกล่าวว่า อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง (2545:ไม่ ระบุ) กล่าวว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถ รับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ใน ทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพ เคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลาก หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้ เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและ เชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบ สนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบราย บุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.รูปแบบหลัก
2. รูปแบบผู้เรียน
3. รูปแบบการปรับตัว

สรุป
สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อม โยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและ เพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้ หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม
สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
สื่อหมายมิติ เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถ รับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ใน ทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพ เคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลาก

อ้างอิง :               โกทูโน (http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932).[ออนไลน์]
               เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555
              เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555

              Sirinapa (http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html ) ).[ออนไลน์]
              เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555


สื่อประสม คืออะไร



ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) ได้รวบรวมและกล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือ มีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง

ยุภาภรณ์    
(http://yupapornintreewon017.page.tl/%26%233626%3B%26%233639%3B%26%233656%3B%26%233629) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   สื่อประสม คือ การใช้สื่อการสอนต่าง  เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้ สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกัน หลาย  อย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” ( Multimedia ) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่าง  มาใช้ร่วมกัน โดย อาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การ ใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบาง ครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็น ชุดสื่อประสมโดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” ( Teaching Package ) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชา และเป็น “ ชุดการสอน ” ( Learing Package ) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง สื่อประสมแต่ละ ชุดจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยสื่ออะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุด มุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของการใช้ 

โอเคเนชั่น (http://www.oknation.net/blog/khetpakorn/2008/01/22/entry-15) ได้รวบรวมและกล่าวว่า สื่อผสม (Mixed media art) เป็น งานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้
     ปัจจุบันการถ่ายทอดสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศิลป์ไม่จำกัดอยู่ กับการแสดงออกในลักษณะใด ลักษณะหนึ่งอาจเป็นการผสมกันทั้งการวาดเขียน การระบายสี การพิมพ์ ประติมากรรม รวมทั้งการผสมผสาน ทางเทคโนโลยี ใหม่ ๆ เช่นวิ ดี โอ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น และวัสดุที่ ที่รองรับ ผลงานอาจไม่ใช่บนพื้นกระดาษ ผ้าใบ หรือเป็นรูปทรง 3 มิติ ธรรมดาอาจจะปรากฏอยู่บนสถาปัตยกรรม หรือภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรือบนสื่อใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา
กระบวนการถ่ายทอดทัศนศิลป์
1. การวาดเขียน (Drawing)
2. การระบายสีหรือ จิตรกรรม (Painting)
3. การพิมพ์ (Printing)
4. ประติมากรรม (Sculpture)
5. สถาปัตยกรรม (Architecture)
6. สื่อผสม (Mixed Media)

สรุป
สื่อผสม (Mixed media art) เป็น งานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้  
สื่อประสม คือ การใช้สื่อการสอนต่าง  เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้ สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกัน หลาย  อย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” ( Multimedia ) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่าง  มาใช้ร่วมกัน โดย อาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การ ใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบาง ครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็น ชุดสื่อประสม
การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือ มีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น

]อ้างอิง : ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523).แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
              สื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
              ยุภาภรณ์
       (http://yupapornintreewon017.page.tl/%26%233626%3B%26%233639%3B%26%233656%3B%26%233629).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555
โอเคเนชั่น (http://www.oknation.net/blog/khetpakorn/2008/01/22/entry-15). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555


สื่อการสอน คืออะไร



  ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523: 112) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

ซัลมา เอี่ยมฤทธิ์(http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า สื่อ การเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 สื่อเพื่อฝึกการรับรู้
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับขนาด ได้แก่ การจัดหาวัสดุสิ่งของ กล่อง บล็อก วางให้เด็กจับต้อง วางซ้อนกัน นำของสองสิ่ง สามสิ่งมาเปรียบเทียบขนาด เล็กใหญ่ เล็กที่สุด ใหญ่ที่สุด
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ครูให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ ลองวางชิ้นส่วนให้พอดีกับช่อง เช่น ช่องวงกลม เด็กต้องหยิบรูปวงกลมวางลงในช่องสี่เหลี่ยม เด็กต้องหยิบรูปสี่เหลี่ยมวางได้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้เด็กแยกรูปร่าง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี ได้
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แนะนำให้เด็กรู้จักสี เล่นสิ่งของเครื่องใช้ บล็อก แผ่นกระดาษรูปทรงเรขาคณิตที่มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กชอบสีสดใส ให้เด็กแยกสิ่งของ วัตถุ รูปภาพ ที่มีสีเหมือนกัน
- สื่อ ฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อผิวของวัตถุ ให้เด็กได้สำรวจสิ่งของใกล้ตัว ได้รับได้สัมผัสสิ่งของที่มีความอ่อน นุ่ม แข็ง หยาบ และบอกได้ว่าของแต่ละชิ้น มีลักษณะอย่างไร เช่น กระดาษทราบหยาบ สำลีนุ่ม ก้อนหินแข็ง ฯลฯ
1.2 สื่อเพื่อฝึกความคิดรวบยอด
อาจ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการจัดสิ่งแวดล้อม เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ ครูควรจัดสวนสัตว์จำลอง เล่านิทาน เชิดหุ่นเกี่ยวกับสัตว์ สนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด วาด ปั้น ฉีก แปะ รูปร่างสัตว์ การจัดกิจกรรมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอาชีพ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้และบุคคลในสังคม ครูควรใช้สื่อสถานการณจำลอง เสริมให้เด็กเข้าใจได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น
การ รู้จักตัวเลขมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ด้วยการใช้วิธีการให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง จัดวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดุมสีต่าง ๆ ฝาเบียร์ ดอกไม้ ใบไม้ ขวด บล็อก เป็นต้น

2. สื่อเพื่อพัฒนาทางด้านภาษา
การ ใช้สื่อพัฒนาการทางภาษาจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการที่สำคัญของเด็กเล็กและต้อง ศึกษาว่าการรับฟังและการเข้าใจภาษาของเด็กว่าอยู่ระดับที่สามารถฟังและแยก เสียงต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงสัตว์ เสียงดนตรีบางชนิด ฟังประโยคและข้อความสั้นและยาวพอสมควร เข้าใจคำจำกัดความ เข้าใจหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ แยกภาพตามหน้าที่ได้ เช่น สิ่งที่ใช้กินนอน หรือสิ่งที่อยู่ในบ้าน ในครัว เปรียบเทียบภาพเหมือนไม่เหมือนได้ อ่านรูปภาพ จำชื่อตัวเองและเพื่อนได้ เป็นต้น ดังนั้นครูเด็กเล็กจะต้องใช้สื่อประเภทวิธีการ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์มาจัดกิจกรรมเสริมความพร้อมทางด้านภาษาให้เด็กได้ พัฒนาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ครูควรจัดเพื่อเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ หนังสือภาพ แผ่นภาพ ภาพประกอบคำคล้องจอง หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นเชิด หุ่นถุงกระดาษ เกมเลียนเสียงสัตว์ เกมสัมพันธ์ภาพกับคำ เกมเรียนรู้ด้านการฟัง เกมทายเรื่อง เกมจับคู่ภาพเหมือนและแยกภาพต่าง ๆ
3. สื่อเพื่อพัฒนาความพร้อมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ และประสาทสัมพันธ์

วาสนา  ชาวหา (2525: 15) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เครื่องมือประเภทนี้จะเป็นพียงตัวกลาง
หรือทางผ่านของความรู้ และต้องอาศัยวัสดุ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ในรูป
แบบต่างๆ สื่อการสอนชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ และได้ยินเสียง
เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษร
ในรูปแบบต่างๆ และวัสดุการเรียนการสอนประเภทนี้จำแนกออกเป็น 2
ประเภท คือ
- วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวหรือ
ความรู้ออกมาสู่ผู้เรียน เช่น ฟิล์มต่างๆ จานเสียง เป็นต้น
- วัสดุ ที่สามารถเสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเสนอเรื่องราว เช่น หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ในการเรียนการสอนบางครั้งต้องอาศัย
เทคนิคหรือวิธีการเพื่อให้เกิดการการเรียนรู้ เช่น การสาธิต การแสดง
ละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
สรุป
        สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์
2. ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษร
ในรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท
- วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวหรือ
ความรู้ออกมาสู่ผู้เรียน เช่น ฟิล์มต่างๆ จานเสียง เป็นต้น
- วัสดุ ที่สามารถเสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเสนอเรื่องราว เช่น หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ในการเรียนการสอนบางครั้งต้องอาศัย
เทคนิคหรือวิธีการเพื่อให้เกิดการการเรียนรู้ เช่น การสาธิต การแสดง

อ้างอิง :  ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523).แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
              สื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
              ซัลมา เอี่ยมฤทธิ์(http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337).[ออนไลน์]
              เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555
              วาสนา  ชาวหา (๒๕๒๕).เทคโนโลยีทางการศึกษา.กราฟฟิคอาร์ต; กรุงเทพฯ






เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

NaiTan ( http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0) ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น


นางสาว วลัยรัตน์ โตวิกกัย (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา    
               1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์,  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
               2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
               3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


กัญญาภัค แม๊คมานัส (http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
       เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
           บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษาว่าได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการ
ศึกษา ดังนี้
ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


อ้างอิง :
               NaiTan ( http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
               กัญญาภัค แม๊คมานัส(http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm ).[ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 
              พ.ศ. 2555                                                                                                                    
            นางสาว วลัยรัตน์ โตวิกกัยhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8  
            สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


              ครูบ้านนอกดอทคอม (http://www.kroobannok.com/145)  กล่าวไว้ว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2.กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

วิกิพีเดีย (http://th.wikipedia.org/wiki)   เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)

นุกูล (http://www.nukul.ac.th/it/content/02/2-1.html#111) ให้ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการจัดหาและได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการสร้างสรรค์ จัดเก็บ แสดงผล แลกเปลี่ยน เผยแพร่และจัดการข้อมูลในรูปแบบเสียง ภาพ ข้อความหรือตัวเลขด้วยการใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
              สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2.กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
เทคโนโลยีในการจัดหาและได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการสร้างสรรค์ จัดเก็บ แสดงผล แลกเปลี่ยน เผยแพร่และจัดการข้อมูลในรูปแบบเสียง ภาพ ข้อความหรือตัวเลขด้วยการใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร


ที่มา :      ครูบ้านนอก (http://www.kroobannok.com/50). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
 วิกิพีเดีย(th.wikipedia.org: 26/06/2554). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
 นุกูล (http://www.nukul.ac.th/it/content/02/2-1.html#111) ). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


เทคโนโลยี หมายถึงอะไร



โอเคเนชั่น (http://www.oknation.net/blog/kang 1989/2008/06/30/entry-3) เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับลักษณะของเทคโนโลยี
                กิดานันท์  มะลิทอง  ได้รวบรวมความหมายของเทคโนโลยี ของธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์  กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

ยินดี เจ้าแก้ว ( http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm ) เทคโนโลยี คือ ความ เจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์

สรุป สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์

ที่มา :      ครูบ้านนอก (http://www.kroobannok.com/50). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543).ห.จ.ก อรุณการพิมพ์พิมพ์
วิกิพีเดีย(th.wikipedia.org: 26/06/2554). [ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555








นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


จรูญ วงศ์สายัณห์ (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ยินดี เจ้าแก้ว(http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm) ได้กล่าวถึง นวัตกรรมการศึกษาไว้ดังนี้ นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปล ว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ

ครูบ้านนอก (http://www.kroobannok.com/blog/33349) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การ ปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการ ศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กาลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction)

ที่มา :       จรูญ วงศ์สายัณห์ (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) ). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ยินดี เจ้าแก้ว(http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm) ). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ครูบ้านนอก (http://www.kroobannok.com/blog/33349) ). [ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรม คืออะไร



              จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520: 37) (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)

กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) กล่าว ไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน

บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542:9). กล่าวไว้ว่า คำว่า " นวัตกรรม " หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า " Innovation " โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ ส่วนคำว่า " นวกรรม " ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำๆ เดียวกันนั่นเอง

                 สรุป  นวัตกรรม เป็นแนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ผลดียิ่งขึ้นความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)

ที่มา :     จรูญ วงศ์สายัณห์ http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138.[ออนไลน์]
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542:9).นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543).ห.จ.ก อรุณการพิมพ์พิมพ์