วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

            Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/    แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) ขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) และ การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (apperception)

           ณัชชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

           John Locke (2550:36)  เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เกี่ยวกับความรู้ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เขากล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยการที่บุคคล ได้รับความคิดหรือประสบการณ์ต่างๆ เข้าไปยังสมองที่ว่างเปล่า ความคิดต่างๆที่เข้ามาสู่ในสมองนั้น โดยประสาทสัมผัส เรียกว่า ประสบการณ์

สรุป การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกันและการเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)

ที่มา :     Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/). [ออนไลน์
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.. 2555
                ณัชชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) . [ออนไลน์
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.. 2555
                พรรณี ช.เจนจิต. (2550).จิตวิทยาการสอน.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น