วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ประสาท อิศรปรีดา(2538 : 2542) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ทฤษฎีนี้ว่า มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมต่อ ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ภาวะที่จะเกิดให้พันธะ หรือการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เกิดขึ้นมีหลายประการ ธอร์นไดค์ได้อธิบายภาวะดังกล่าวไว้ในรูปกฎการเรียนรู้ ซึ่งมีกฎสำคัญ 3 ประการ คือ กฎการพอใจ กฎการฝึกหัด และกฎความพร้อม กฎการพอใจ มีใจความว่า ถ้าหากการ ทำบ่อยๆ พันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองจะเข้มแข็งหรือแน่นแฟ้นมาก และกฎความพร้อม มีใจความว่า ถ้าบุคคลพร้อมที่จะทำย่อมก่อให้เกิดความพอใจ
 สุรางค์ โค้วตระกูลเฮนรี  (2541:156 ) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ  เฮนรี เอ. เมอร์เรย์ (Henry A. Merray)ทฤษฎีนี้ว่าความต้องการเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดแรงขับหรือแรงจูงใจ ซึ่งเป็นผลให้มนุษย์เราแสดงพฤติกรรมไปในทิศทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย เมอร์เรย์ได้ทำการศึกษาความต้องการท่งจิตวิทยาบุคคลปกติกลุ่มหนึ่ง ความต้องการของเมอร์เรย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
1.             ความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์
2.             ความต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับคนอื่น
3.             ความต้องการ ความก้าวร้าว
4.             ความต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเอง
5.             ความต้องการที่จะมีอิทธิพลหรือบังคับผู้อื่น
6.             ความต้องการที่จะเป็นเป้าแห่งสายตาคน
7.             ความต้องการที่จะปกป้องคุ้มครองรักษาผู้อื่น

หัสชัย (http://www.nstlearning.com/~hussachai/?cat=17) ได้รวบรวมทฤษฎีไว้ว่า
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำสกินเนอร์ (Skinner) เป็นบิดาของทฤษฎีนี้ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า จิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์ และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulit and Response) เชื่อว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning) ซึ่งมีการเสริมแรง (Reinforcement) เป็นตัวการ โดยทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนี้จะไม่พูดถึงความนึกคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ภาพ ความรู้สึก
สรุป        การเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมต่อ ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ภาวะที่จะเกิดให้พันธะ หรือการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เกิดขึ้นมีหลายประการ ธอร์นไดค์ได้อธิบายภาวะดังกล่าวไว้ในรูปกฎการเรียนรู้ ซึ่งมีกฎสำคัญ 3 ประการ คือ กฎการพอใจ กฎการฝึกหัด และกฎความพร้อม ความต้องการเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดแรงขับหรือแรงจูงใจ ซึ่งเป็นผลให้มนุษย์เราแสดงพฤติกรรมไปในทิศทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ที่มา :     ประสาท อิศรปรีดา. (2538).สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา.มหาสารคาม.นำอักษรการพิมพ์
                สุรางค์ โค้วตระกูล.(2541).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่ง
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย       
หัสชัย (http://www.nstlearning.com/~hussachai/?cat=17). [ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น