วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

           Fred (2550:25)ได้รวบรวมทฤษฎีเน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติไว้ว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปตามธรรมชาติ ควรปล่อยเด็กให้เป็นอิสระ ไม่เข้มงวดกวดขัน ผู้ใหญ่ไม่ควรยุ่งวุ่นวายกับเด็กเกินไป เพราะเด็กแต่ละคนรู้ ว่าตัวเองต้องการอะไร รู้ว่าตัวเองแค่ไหนถึงจะพอ  แต่จากการที่ผู้ใหญ่เข้าไปยุ่งวุ่นวายกับเด็กเพื่อสนองความต้องการของผู้ใหญ่ จะทำให้เด็กคับข้องใจ และจะส่งผลให้เกิดปัญหาทีหลัง

           รุสโซ ( www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=75.5;wap2 ) ได้รวบรวมทฤษฎีเน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติไว้ว่า   ไม่เชื่อเรื่องบาปกำเนิด (Original Sin) ตรงกันข้าม เขาชื่อว่า บาปชั่วเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ได้พัฒนาชีวิตสังคม (a society) ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติได้รับแรงบันดาลใจจากความดื่มด่ำกับธรรมชาติ  (a natural sentiment-amour de soi) ที่น้อมนำให้สัตว์ทั้งหลายได้รับการปกป้องคุ้มครองจากมนุษย์  และกระทำไปด้วยเหตุผลและความเมตตาสงสาร ก่อให้เกิดมนุษยธรรม (Humanity)  และคุณธรรม (Virtue)  ในทางกลับกัน เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาสัญญาประชาคม มนุษย์ก็ได้ผลิตความชั่วร้ายขึ้นมา  และจากนั้นไปก็ได้รับแรงบันดาลใจ  จากความรู้สึกประทับใจเทียมจอมปลอม  (an artificial sentiment – amour propre)  ที่เกิดขึ้นมาจากสังคมที่ครอบงำบุคคลให้ต้องทำตามทำให้มนุษย์สูญสิ้น

           เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล  (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0ce4f9bd3ee56bb8)  ได้รวบรวมทฤษฎีเน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติไว้ว่า เด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน กระบวนการเรียนการสอนของเฟรอเบล เน้นการเล่นอย่างมีความหมาย ครูต้องมีแผนการจัดประสบการณ์ มีอุปกรณ์ และการกิจกรรมที่ เหมาะสม มีการกระตุ้นเร้าความสนใจของเด็ก การสอนที่สำคัญของครูปฐมวัยคือ ต้องมีแผนการสอน สอนระเบียบเมื่อเด็กเล่นเสร็จ บรรยากาศในการเรียนเน้นความเป็นธรรมชาติ โรงเรียนต้อง สวยงาม ผู้ปกครองได้รับการฝึกอบรมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างถูกต้อง
          
          สรุป พัฒนาการของเด็กเป็นไปตามธรรมชาติว่า เด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน โดยที่ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนวทางเท่านั้น

ที่มา :   พรรณี ช.เจนจิต. (2550).จิตวิทยาการสอน.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์
             รุสโซ (www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=75.5;wap2 - แคช. [ออนไลน์]    
             เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ..  
             เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล    (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0ce4f9bd3ee56bb8).[ออนไลน์]
             เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.. 2555
          
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น