วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/)ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Lall and Lall, 1983:45-54)
1.พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้นดังนี้
1.1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor Period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วง 0-2 ปี ความคิดของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้และการกระทำเด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และยังไม่สามารถเข้าใจความ   คิดเห็นของผู้อื่น
1.2 ขั้นก่อนปฎิบัติการคิด (Preoperational Period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 2-7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการับรู้เป็นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็นขั้นย่อยๆ 2 ขั้นคือ
1.2.1 ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด (Pre-Concep-utal Intellectual Period) เป็นขั้นพัฒนากรในช่วงอายุ 2-4 ปี
1.2.2 ขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง (Intuitive Thinking Period) เป็นขั้นพัฒนากรในช่วง อายุ 4-7 ปี
1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Comcrete Operational Pe-riod) เป็นขั้นพัฒนากรในช่วงอายุ 7-11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจ และสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่างๆได้มากขึ้น
1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operation Pe-riod) เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 11-15 ปี เด็กสามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบวนการทางสติปํญญามีลักษณะดังนี้
3.1 การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
3.2 การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.3 การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับตัว หารการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลมากขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์ เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

   ฟลาเวล ( http://www.it.neu.ac.th/web/re6.html) ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า ฟลาเวล เชื่อว่า ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเองขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ 1) บุคคลหรือผู้เรียน (Person) 2) งาน (Task) และ 3) ยุทธศาสตร์ที่ใช้ (Strategy) ซึ่งฟลาเวลได้ให้คำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้
      1. บุคคล (Person) หมายถึงความสามารถของผู้เรียนที่จะมีความรู้เกี่ยวกับตนเองในฐานะผู้เรียน เช่น ระดับความสามารถ ลีลาในการเรียนรู้ที่ตนถนัด
       2. งาน (Task) ความรู้เกี่ยวกับงานที่จะต้องเรียนรู้ รวมทั้งระดับความยากง่ายของงาน
       3. ยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่ใช้ในการเรียนรู้ “งาน” หรือสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวัยของผู้เรียน
โดยสรุป จะเห็นว่า ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเองมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ตามทัศนะของนักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญา
ณัฐชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ(http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan)  ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม: อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สรุป                       
 1.พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้นดังนี้
1.1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor Period)
1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Period)
1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Comcrete Operational Pe-riod)
1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operation Pe-riod)
2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
3.1 การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)
3.2 การปรับและจัดระบบ (accommodation)
3.3 การเกิดความสมดุล (equilibration)
ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเองขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ 1) บุคคลหรือผู้เรียน (Person) 2) งาน (Task) และ 3) ยุทธศาสตร์ที่ใช้ (Strategy) และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ที่มา :     สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/). [ออนไลน์]
            วันที่ 13 กรกฎาคม  พ.ศ. 2555
                ฟลาเวล ( http://www.it.neu.ac.th/web/re6.html) . [ออนไลน์]
            วันที่ 13 กรกฎาคม  พ.ศ. 2555
                ณัฐชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ(http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan. [ออนไลน์] 
            วันที่ 13 กรกฎาคม  พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น