วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

1.ชื่อเรื่อง ( The title)


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2534:32) กล่าวไว้ว่า ต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม

นิภา ศรีไพโรจน์ (http://www.watpon.com/Elearning/res19.html) ได้รวบรวมไว้ว่า ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด
                2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที
                3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                    3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ
                    3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ
                    3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์
                    3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ
                    3.5 การวิจัยเชิงทดลอง
               4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม
               5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์ (2537:33) กล่าวไว้ว่า การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น2แนวคิดคือการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย

สรุป
การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น2แนวคิดคือการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมายต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตามมีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด

ที่มา :     เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2537).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.
นิภา ศรีไพโรจน์. (http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm.[ออนไลน์]
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย.กรุงเทพฯ: 
พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น