วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis)


                ธีรวุฒิ  เอกะกุล (2549 : 105) กล่าวว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น ระดับรายได้ของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org/wiki/) กล่าวว่า สมมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร (what if)
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm)  กล่าวว่า สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผล เพื่อตอบความมุ่งหมายของงานวิจัยที่ได้วางไว้ เป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต้องเป็นประโยคบอกเล่า ตั้งไว้ล่วงหน้า อย่างมีเหตุมีผล โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารต่าง ๆ สมมติฐานแต่ละข้อต้องมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ตัวใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะเปรียบเทียบและความสัมพันธ์
สรุป
ตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารต่าง ๆ สมมติฐานแต่ละข้อต้องมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ตัวใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร (what if)

ที่มา :     ธีรวุฒิ  เอกะกุล .ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4 .อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (http://th.wikipedia.org/wiki/).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.
ฉัตรศิริ  ปิยะพิมลสิทธิ์.  (http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm).[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
6 ธันวาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น