วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

17. ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm ได้รวบรวมไว้ว่า    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูก ต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จผลการวิจัยที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลับกลายเป็นโทษ ต่อผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิด ชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย

ศรัญญา (http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm) ได้รวบรวมไว้ว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ
               
พจน์ สะเพียรชัย (2516 : 131) กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
               
  สรุป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูก ต้องมากน้อยเพียงใดและผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น


ที่มา :     http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm. [ออนไลน์].     
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.
                        ศรัญญา. (http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm).[ออนไลน์] 
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.
                        พจน์ สะเพียรชัย. (2516).  หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
                วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น