วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


จักรกฤษณ์ สำราญใจ (http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon) กล่าวว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

ธีรวุฒิ  เอกะกุล (2549  : 106-110)   กล่าวว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดาเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลาดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลาดับเวลาด้วย


ธัชพนธ์ โชคสุชาติ (http://www.bestwitted.com/?tag) กล่าวว่า ทบทวนเอกสารและงานวิจัย (วรรณกรรม) ที่เกี่ยวข้องการทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ


สรุป
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

ที่มา :     จักรกฤษณ์ สำราญใจ. เว็บไซต์  http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon. เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555.
ธีรวุฒิ เอกะกุล.  (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.
อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
ธัชพนธ์ โชคสุชาติ. เว็บไซต์  http://www.bestwitted.com/?tag. เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น