วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))

               http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า    วัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
 3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                 3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  3.2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  3.2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

              http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.html#06 ได้รวบรวมไว้ว่า ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น  2 ชนิด คือ

              ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
              ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง

พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2538 : 6) กล่าวว่า
              1.  เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎี เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้เหตุผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบ ทำให้เข้าใจและมีความรู้ใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง
             2.   เพื่อแก้ไขปัญหา ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักมีปัญหาหรือเหตุขัดข้องขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจราจร เป็นต้น มนุษย์จึงต้องทำการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา
              3.   เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่ 

 สรุป
วัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่ 


ที่มา :     http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น