วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7. กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual ramework)


 เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl e&Id=538654696) กล่าวว่า กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง  จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คือ การพัฒนามาเป็นกรอบ แนวคิดการวิจัย” (conceptual research framework) หรือ ตัวแบบของการวิจัย” (research model) ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ ทั้ง นี้การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยควรนำมาจากองค์ความรู้ในพาราไดม์ปัจจุบันของ ศาสตร์นั้น

พัชรา  สินลอยมา (http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esr&source=web&cd=1)กล่าวว่า กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
 
                 สมปอง  เขียวช่วยพรม   ( http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137  )กล่าวว่า กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

สรุป
กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(Concept) ในเรื่องนั้น การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

ที่มา :    เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl e&Id=538654696).  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.  
 พัชรา  สินลอยมา. (http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&s&source=web&cd=1).[ออนไลน์]. 
   เข้าถึงเมื่อวันที่  6 ธันวาคม 2555. 
 สมปอง  เขียวช่วยพรม .(http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137).[ออนไลน์]  
 เข้าถึงเมื่อวันที่  6 ธันวาคม 2555.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น