วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมไว้ว่า  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

ธีรวุฒิ  เอกะกุล (2549 : 93-96)   กล่าวไว้ว่า   ความเป็นมาและความสำคัญ  ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจาเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

สรุป
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างและภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร



ที่มา :      http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์]   เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.
 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555.
                ธีรวุฒิ  เอกะกุล.  (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.
                อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น